You are currently viewing บริหารภาษี ฉบับธุรกิจ SME ประหยัดภาษีได้มากขึ้น

บริหารภาษี ฉบับธุรกิจ SME ประหยัดภาษีได้มากขึ้น

บริหารภาษี ฉบับธุรกิจ SME

ประหยัดภาษีได้มากขึ้น 👏

.

ผู้ประกอบการ SME มีหน้าที่

ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

อธิบายแบบสั้น ๆ ก็คือ ภาษีที่กรมสรรพากร

เป็นผู้จัดเก็บกับผู้ประกอบการ SME

อัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ

ซึ่งหลักการคิดภาษีนิติบุคคลคือ

(รายได้ – รายจ่าย = กำไร) และนำกำไร

ไปคิดภาษีที่ต้องจ่ายนั่นเอง ซึ่งภาษี

ที่เกี่ยวข้องกับ SME จะประกอบไปด้วย

.

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือ

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

.

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าสินค้า

หรือบริการที่มีการซื้อขาย

โดยผู้ประกอบการที่มียอดขาย

มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

ขอจดทะเบียน VAT อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือร้อยละ 7 จากยอดมูลค่าสินค้าและบริการ

ซึ่งประกอบด้วย

ภาษีขาย

คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จดทะเบียน VAT

เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อในการขายสินค้าบริการ

เป็นภาษีที่ต้องนำส่งกรณีขายมากกว่าซื้อ

ภาษีซื้อ

คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้า

หรือบริการต้องชำระให้ผู้ขายในการซื้อสินค้า

เป็นภาษีที่ขอคืนได้ถ้าน้อยกว่าภาษีขายในรอบนั้น

.

3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการทำการหัก ณ ที่จ่าย

ตามมาตรา 40 เพื่อนำส่งรัฐ ในกรณีที่มี

การจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงาน หรือค่าจ้าง

ให้ทำสินค้า ก็ต้องมีการหักภาษีที่จ่าย

อัตราร้อยละ 3

.

4. ภาษีป้ายและภาษีโรงเรือนที่ดิน

ภาษีป้าย เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีป้าย

ที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ เครื่องหมายที่ใช้

ในการประกอบการค้า หรือเพื่อหารายได้

หรือเป็นป้ายโฆษณา ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ก็คือเจ้าของป้ายนั่นเอง ส่วนภาษีโรงเรือน

และที่ดินเป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน

สิ่งปลูกสร้าง และที่ดินที่ใช้ต่อเนื่อง

กับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน

.

.

” CNR Group “ครบวงจรเรื่องการทำบัญชีและภาษี

เราให้บริการด้านบัญชีอย่างมืออาชีพ

#ที่ปรึกษาด้านบัญชีภาษีเชิงรุก

#ที่ปรึกษากลยุทธ์การเงิน

#ที่ปรึกษาด้านหลังบ้านธุรกิจ

#สำนักงานบัญชีดิจิทัล

#ตรวจสอบบัญชี

#วางระบบการควบคุมภายใน

#การวางแผนภาษี

ใส่ความเห็น